สงครามเย็น
ความหมายของสงครามเย็น
สงครามเย็น หมายถึง สงครามที่มหาอำนาจทั้งสองทำการต่อสู้กัน โดยใช้เครื่องหมายทุกอย่าง ยกเว้นอาวุธปรมาณู หรือหมายถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยไม่ใช้อาวุธต่อสู้กันโดยตรง แต่ใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อการแทรกซึมบ่อนทำลาย การประนาม การแข่งขันกันสร้างกำลังอาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศเล็ก
สาเหตุของสงครามเย็น
สงครามเย็นมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ที่ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และเขตอิทธิพล เพื่อครองความเป็นผู้นำของโลก โดยพยายามแสวงหาผลประโยชน์และเขตอิทธิพลในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้นำทางการเมืองของโลกในสมัยก่อน คือ อังกฤษ เยอรมัน ได้หมดอำนาจในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ลักษณะของสงครามเย็น
1.การแข่งขันสร้างพันธมิตรทางทหาร
2.การแข่งขันด้านอุดมการณ์
3.การแข่งขันด้านเทคโนโลยี (ด้านอวกาศ การทหาร)
4.การทำสงครามตัวแทน
The ‘Truman Doctrine’
ลัทธิทรูแมน : นโยบายที่อเมริกาสนับสนุนรัฐบาลกรีซ และตุรกีโดยให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศทั้ง 2 อยู่ภายใต้อิทธิพลของโซเวียต
สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ และตามที่สหรัฐ จะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่
แฮร์รี เอส ทรูแมน
แฮร์รี เอส ทรูแมน
The ‘Marshall Plan’
แผนการที่อเมริกาประกาศจะทุ่มเงินมหาศาลช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกๆประเทศในยุโรปตะวันตก เพื่อเป็นการต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์และถ่วงดุลอำนาจยุโรป
The ‘Molotou Plan’
แผนการที่โซเวียตประกาศจะทุ่มเงินมหาศาลช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกๆประเทศในยุโรปที่บอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการต่อต้านการขยายตัวของประชาธิปไตย
วิกฤตการณ์เบอร์ลิน
4 มหาอำนาจแบ่งยึดครอง คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และรัสเซีย แต่เยอรมันฝั่งตะวันออกเป็นของรัสเซียซึ่งปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ และเยอรมันฝั่งตะวันตกเป็นประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนอพยพย้ายไปอยู่เยอรมันฝั่งตะวันตก ทำให้รัสเซียสร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นมาปิดล้อม
Cuban Missile Crisis (1962) วิกฤตการณ์คิวบา
คิวบาเป็นประเทศเล็กๆที่อยู่ในทะเลแคริบเบียน ผู้นำคิวบาคือ บาติสตา (ประธานาธิบดี) ซึ่งบาติสตาผูกความสัมพันธ์กับอเมริกา
ต่อมาบาติสตาถูกนายฟีเดล คาสโตรปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนคิวบาให้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ ผูกพันกับรัสเซียแทนอเมริกา ซึ่งภายหลังดาวเทียมของอเมริกาพบว่ารัสเซียได้นำจรวดนำวิถีมาติดตั้งที่คิวบา จอห์น เอฟ เคเนดี้ประธานาธิบดีของอเมริกาสั่งให้คิวบาถอนจรวดออกภายใน 30 วัน คิวบาไม่ปฏิบัติตามและส่งจรวดนำวิถีมาติดตั้งเพิ่มอีก สร้างความไม่พอใจให้กับอเมริกา จึงสั่งกองเรือรบ 180 ลำปิดทะเลแคริบเบียน และสั่งให้คิวบาถอนฐานจรวดภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งคิวบา และรัสเซียยอมปฏิบัติตามคำสั่งของอเมริกา สงครามระหว่างอเมริกา รัสเซียและคิวบา จึงไม่เกิดขึ้น
สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (The North Atlantic Treaty Organization) หรือ NATO
คือ การรวมกลุ่มทางการทหารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์
สนธิสัญญาวอร์ซอ
สนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact Treaty Organization) หรือ Warsaw Pact
คือ การรวมกลุ่มทางการทหารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายประชาธิปไตย
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
EEC (Europe Economic Cooperation)
เป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มเสรีนิยมประชาธิปไตยยุโรป ต่อมาภายหลังเป็นชื่อเป็น European Union : EU
COMECON
เป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ต่อมาภายหลังCOMECON ถูกยกเลิกไปเพราะสหภาพโซเวียตล่มสลายทางเศรษฐกิจ
โครงการอวกาศ Sputnik I (1957)
ดาวเทียมดวงแรกที่ส่งไปโคจรอวกาศสำเร็จ คือ Spukig ในปี พ.ศ.2500 ทำให้ จอห์น เอฟ เคเนดี้กล่าวว่า “อเมริกาจะส่งมนุษย์ ไปลงดวงจันทร์ให้ได้ภายใน 10 ปี”
ในปี 2501 อเมริกา ได้ส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลกสำเร็จ อเมริกาก่อตั้ง NASA เป็นการสำรวจอวกาศ และใช้ชื่อย่อย เรียกว่า โครงการ Apollow เพื่อส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ ซึ่งต่อมาอเมริกาได้ส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ได้สำเร็จ คือ Neal Armstrong ด้วยยาน Apollw 11 ในปี พ.ศ.2512
เมื่อรัสเซียเห็นว่าอเมริกาก้าวหน้าทางโครงการอวกาศจึงทุ่มเงินมหาศาลพัฒนาโครงการ Meer แต่สุดท้ายโครงการ Meer ต้องยุติลงเพราะรัสเซียประสบปัญหาการล่มสลายทางเศรษฐกิจ
สงครามตัวแทน
สงครามเวียตนาม ค.ศ. 1960 -1975
•1941 ได้เกิดขบวนการเวียดมินห์เพื่อขับไล่ฝรั่งเศส โดยมีผู้ที่มีสมญาว่า โฮจิมินห์ เป็นผู้นำ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ยึดเดียนเบียนฟูได้ ฝรั่งเศสกับเวียดนามก็ได้ทำสัญญาสงบศึกที่กรุงเจนีวา เมื่อปี 1954 เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ยึดเดียนเบียนฟูได้ ฝรั่งเศสกับเวียดนามก็ได้ทำสัญญาสงบศึกที่กรุงเจนีวา เมื่อปี 1954 เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา
อนุสัญญาเจนีวา
•มีสาระสำคัญคือ ให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยใช้เส้นรุ้งที่ ๑๗ เหนือ ซึ่งผ่านเมืองกวางตรี ตามแนวแม่น้ำเบนไฮ เป็นเส้นแบ่งเขตแดน
•ประธานาธิบดี จอห์นสัน ของสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจทำสงครามโดยเปิดเผยระหว่างสหรัฐฯ และเวียดนามเหนือ จึงเริ่มต้นตั้งแต่กุมภาพันธ์ 1965
•ฝ่ายประชาธิปไตยที่ให้ความช่วยเหลือเวียดนามใต้
•ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และไทย
ทฤษฎีโดมิโน
ความหมาย คือ ทฤษฎีที่ยกอุทาหรณ์จากเกมไพ่ต่อแต้ม ซึ่งถ้ามีไพ่ล้มหนึ่งใบ ไพ่ใบอื่น ๆ จะล้มเป็นแถบติดต่อเป็นลูกโซ่ เกิดจากความเชื่อถือที่ว่า เมื่อประเทศใดตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์จะทำให้ประเทศอื่น ๆ กลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย
ทฤษฎีการสกัดกั้น
นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส (John Foster Dulles) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีทฤษฎีต่อต้านทฤษฎีโดมิโน คือ ทฤษฎีการสกัดกั้น (Containment Policy)
ผู้นำสหรัฐอเมริกา
ริชาร์ดนิกสัน
1969-1974
1969-1974
ภาพประวัติศาสตร์จากสงครามเวียดนาม
การสิ้นสุดสงคราม
สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรฝ่ายโลกเสรีได้ถอนกำลังทั้งหมด ออกจากเวียดนามใต้ กองทัพเวียดนามเหนือและเวียดกงเข้ายึดกรุงไซ่ง่อนได้เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๘ และเวียดนามเหนือสามารถรวมเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน เมื่อ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๘ และประกาศใช้ชื่อประเทศใหม่ว่า สาธารณรัฐเวียดนาม
สงครามเกาหลี
สงครามเกาหลี เป็นสงครามระหว่าง เริ่มตั้งแต่ 25 มิ.ย. 1950 – 27 ก.ค.1953 เป็นหนึ่งในสงครามตัวแทน ช่วงสงครามเย็น
เกาหลีเหนือใช้ยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา สามารถยึด กรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส แมกอาร์เธอร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้
กองทัพอเมริกันบุกเกาหลีเหนือถึงแม่น้ำยาลู ชายแดนระหว่างเกาหลีเหนือกับจีน โซเวียตให้ความช่วยเหลือ จีนปะทะกับทหารอเมริกัน กองทัพจีนก็ล่าถอยไปอยู่ในเทือกเขา กองทัพสหประชาชาติบุกข้ามแม่น้ำยาลู
กองทัพจีนโอบล้อมกองทัพของพวกนานาชาติแถบอ่างเก็บน้ำโชสิน (Chosin Reservoir)
นักโทษที่อายุน้อยที่สุดในค่ายกักกันเมืองโกเจ โด เกาหลี1953
หมู่บ้านปันมุนจอง ที่มีการเซ็นสัญญาหยุดยิง
แลกเปลี่ยนเชลยศึก
แลกเปลี่ยนเชลยศึก
ผลของสงคราม
• ฝ่ายเกาหลีเนือเสียชีวิตในสงครามทั้งหมด 1,066,000 นาย ส่วนฝ่ายเกาหลีใต้เสียชีวิตประมาณ 941,356–1,139,518 นาย
ทหารฝ่ายไทยจำนวน 1,294 นาย
ทหารฝ่ายไทยจำนวน 1,294 นาย
การสิ้นสุดของสงครามเกาหลี
สหภาพโซเวียตในยุคที่มิคกาฮิล กอร์บาซอฟ (Mikhail Gorbachev) เป็นผู้นำได้ดำเนินการปฎิรูปบ้านเมืองหลายด้าน และเป็นจุดเริ่มต้นทำให้สภาวะสงครามเย็นเริ่มคลี่คลายตัวลง สรุปได้ดังนี้
1. การใช้นโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตให้เป็นเสรีประชาธิปไตยมากขึ้นในปี ค.ศ. 1985 เรียกว่า “นโยบายเปิด-ปรับ” หรือกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา
2. การรวมเยอรมนีตะวันออกเข้ากับตะวันตกเป็นประเทศเดียวกันได้สำเร็จใน ค.ศ. 1990
3. การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1991 คือการยุติการรวมตัวเป็นสหภาพโซเวียตของ 15 สาธารณรัฐและทำให้เกิดรัฐเอกราช 15 ประเทศ สาเหตุของการล้มสลายของสหภาพโซเวียต คือ ปัญหาเงินเฟ้อและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ และปัญหาการเมืองภายใน
4. การก่อรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของพวกคอมมิวนิสต์หัวเก่า
ความเปลี่ยนแปลงภายหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น
ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจภายหลังการสิ้นสุดสงครามเย็น
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา บรรยากาศความตึงเครียดของโลกในยุคสงครามเย็น ได้สิ้นสุดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญคือ ประเทศคอมมิวนิสต์เริ่มปรับตัวเข้าสู่วิถีทางของระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น และเปลี่ยนมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดหรือทุนนิยมเสรีตามอย่างโลกตะวันตก ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกภายหลังการสิ้นสุดยึดสงครามเย็น มีดังนี้
1. การเกิดสาธารณรัฐเอกราช 15 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน ลัตเวีย เอสโตเนีย ลิทัวเนีย เบลารุส มอลโดวา อุซเบกิสสถาน อาร์เมเนีย ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสสถาน คาซัคสถาน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน และคีร์กีซสถาน
2. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปตะวันออก
2.1 การล่มสลายของสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย รัฐต่างๆได้แยกตัวเป็นประเทศเอกราช
2.2 โปแลนด์ เป็นชาติแรกในยุโรปที่มีการปฏิรูประบอบการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาเป็นระบบตลาดเสรีเหมือนอย่างประเทศตะวันตก
2.3 ฮังการี มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจทำนองเดียวกับโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1991
2.4 เชโกสโลวะเกีย ในเดือนมกรา ค.ศ. 1993 เชโกสโลวะเกียประกาศแยกออกเป็น 2 ประเทศคือ สาธารณรัฐเช็ก และสาธารณรัฐสโลวะเกีย
2.5 เยอรมนีตะวันออก รวมกับเยอรมนีตะวันตกใน ค.ศ. 1990 ภายใต้ชื่อประเทศ “สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบการตลาด
3. การเปิดประเทศของจีน ในปี ค.ศ. 1992 จีนประกาศนโยบายปฎิรูประบบเศรษฐกิจให้เป็นระบบตลาดเสรี ส่งเสริมการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติ
สหภาพโซเวียต
ประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต 15 ประเทศได้แก่
1. รัสเซีย – สหพันธรัฐรัสเซีย Russian Federation (Russian SFSR)เมืองหลวง คือ มอสโก
2. ยูเครน Ukrainian SSRเมืองหลวง คือ เคียฟ Kiev
3. อาร์เมเนีย Armenian SSRเมืองหลวง คือ เยราวาน Yerevan
4. เบลารุส Byelorussian SSR เมืองหลวง คือ มินสก์ Minsk
5. จอร์เจีย Georgian SSR เมืองหลวง คือ ทบีลีซี Tbilisi
6. มอลโดวา Moldavian SSR เมืองหลวง คือ คีนีเนฟ Chişinău
7. คาซัคสถาน Kazakh SSR เมืองหลวง คือ อัลมา-อาตา Alma-Ata
8. อุซเบกิสถาน Uzbek SSR เมืองหลวง คือ ทัสเคนต์ Tashkent
9. เติร์กเมนิสถาน Turkmen SSR เมืองหลวง คือ อัชกาบาด Ashgabat
10. คีร์กิซสถาน Kirghiz SSR เมืองหลวง คือ ฟรุณซ์ Frunze
11. ทาจิกิสถาน Tajik SSRเมืองหลวง คือ ดูซัมบี Dushanbe
12. อาเซอร์ไบจาน Azerbaijan SSRเมืองหลวง คือ บากู Baku
13. เอสโตเนีย* Estonian SSRเมืองหลวง คือ ทัลลินา Tallinn
14. แลตเวีย*Latvian SSR เมืองหลวง คือ ริกา Riga
15. ลิธัวเนีย*Lithuanian SSR เมืองหลวง คือ วิลนิอุส Vilnius
1. รัสเซีย – สหพันธรัฐรัสเซีย Russian Federation (Russian SFSR)เมืองหลวง คือ มอสโก
2. ยูเครน Ukrainian SSRเมืองหลวง คือ เคียฟ Kiev
3. อาร์เมเนีย Armenian SSRเมืองหลวง คือ เยราวาน Yerevan
4. เบลารุส Byelorussian SSR เมืองหลวง คือ มินสก์ Minsk
5. จอร์เจีย Georgian SSR เมืองหลวง คือ ทบีลีซี Tbilisi
6. มอลโดวา Moldavian SSR เมืองหลวง คือ คีนีเนฟ Chişinău
7. คาซัคสถาน Kazakh SSR เมืองหลวง คือ อัลมา-อาตา Alma-Ata
8. อุซเบกิสถาน Uzbek SSR เมืองหลวง คือ ทัสเคนต์ Tashkent
9. เติร์กเมนิสถาน Turkmen SSR เมืองหลวง คือ อัชกาบาด Ashgabat
10. คีร์กิซสถาน Kirghiz SSR เมืองหลวง คือ ฟรุณซ์ Frunze
11. ทาจิกิสถาน Tajik SSRเมืองหลวง คือ ดูซัมบี Dushanbe
12. อาเซอร์ไบจาน Azerbaijan SSRเมืองหลวง คือ บากู Baku
13. เอสโตเนีย* Estonian SSRเมืองหลวง คือ ทัลลินา Tallinn
14. แลตเวีย*Latvian SSR เมืองหลวง คือ ริกา Riga
15. ลิธัวเนีย*Lithuanian SSR เมืองหลวง คือ วิลนิอุส Vilnius
ไม่มีความคิดเห็น: