สงครามอ่าวเปอร์เซีย
สงครามระหว่างอิรัก กับ อิหร่าน หรือที่นิยมเรียกว่าสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf War) นั้นได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1980 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งอยู่หลายประการดังนี้
- ดินแดนบริเวณชัต อัล-อาหรับ (Shatt Al-Arab) ซึ่งดินแดนบริเวณนี้มีแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสไหลมาบรรจบกัน ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนี้มาก ทำให้อิรักและอิหร่านต่างก็ต้องการยึดไว้เป็นของตน ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ
- ชาวอิรักส่วนใหญ่มีเชื้อสายอาหรับ นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ แต่ชาวอิหร่านมีเชื้อสายเปอร์เซีย นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์เหตุที่มีความต่างกันของเชื้อชาติจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกันอยู่เป็นประจำโดยเฉพาะในบริเวณพรมแดนของทั้ง 2 ประเทศนี้
- ปัญหาจังหวัดคูเซสถาน (Khuzestan) จังหวัดนี้เป็นจังหวัดชายแดนของอิหร่าน แต่อิรักต้องการเข้าครอบครองดินแดนนี้ เพราะจังหวัดนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ไม่พอใจนโยบายการนับถือศาสนาของผู้นำอิหร่าน อยาโตลลาห์ โคไมนี ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ และโคไมนีก็มีความเกลียดชังผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่มากและมีความตั้งใจที่จะทำลายล้างให้หมดไป
ด้วยเหตุนี้ทำให้ในวันที่22กันยายนค.ศ.1980อิรักจึงเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่านทำให้เกิดการโต้ตอบกันโดยมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆและมีการรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามในครั้งนี้ได้เกี่ยวข้องไปถึงสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกอิหร่านกล่าวหาว่าได้ให้การสนับสนุนอิรักสงครามได้ยืดเยื้อมาจนกระทั้งสหประชาชาติและประเทศเป็นกลางอื่นๆพยายามที่จะให้ประเทศทั้งสองได้เจรจายุติสงครามกัน เพราะทั้ง 2 ประเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก
ด้วยเหตุนี้ทำให้ในวันที่22กันยายนค.ศ.1980อิรักจึงเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่านทำให้เกิดการโต้ตอบกันโดยมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆและมีการรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามในครั้งนี้ได้เกี่ยวข้องไปถึงสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกอิหร่านกล่าวหาว่าได้ให้การสนับสนุนอิรักสงครามได้ยืดเยื้อมาจนกระทั้งสหประชาชาติและประเทศเป็นกลางอื่นๆพยายามที่จะให้ประเทศทั้งสองได้เจรจายุติสงครามกัน เพราะทั้ง 2 ประเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก
ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น ได้ประกาศว่าจะยุติสงครามลงด้วยสันติวิธี แต่ทว่าการกระทำของอิรักกลับตรงข้าม คือ ทางฝ่ายอิหร่านแจ้งว่า ชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมี ทำให้ประชาชนต้องล้มตายไปไม่ต่ำกว่า 5,000 คน และขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีรุกคืบหน้าเข้าไปในดินแดนของอิหร่านอยู่
จากผลของสงคราม ทำให้ในวันที่ 18 กรกฎาคมค.ศ.1989รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศยอมรับแผนการสันติภาพของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและอิรักก็ยอมรับในมตินี้ด้วย นับว่าเป็นการสิ้นสุดของสงคราม ซึ่งยืดเยื้อมากว่า 9 ปี ทำให้ทั้ง 2 ประเทศนี้ต้องสูญเสียชีวิตทหาร ราษฎร และทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก
อิรักปิดล้อมคูเวต สงครามอ่าว (Gulf War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิรัก และกองกำลังผสมจาก 34 ชาติใต้อาณัติของสหประชาชาติ นำโดยสหรัฐอเมริกา
เมื่อสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่านสิ้นสุดลงทำให้อิรักมีหนี้สินที่กู้ยืมมาจากต่างประเทศมากโดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาราเบียและคูเวตมีจำนวนเงินรวมกันประมาณ80,000ล้านบาทแต่อิรัก เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยน้ำมัน และมีกองทัพที่มีแสนยานุภาพเป็นที่เกรียงไกรที่สุดในตะวันออกกลาง ภายใต้การนำของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น ซึ่งทหารมากกว่า 1 ล้านคน มีประสบการณ์ร่วมทำสงครามกับอิหร่านมาแล้ว และยังมีอาวุธที่ทันสมัยทั้งเครื่องบิน จรวด อาวุธเคมี และกำลังเริ่มต้นพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นอีก สำหรับคูเวตเป็นประเทศเล็กๆตั้งอยู่ระหว่างอิรักกับซาอุดีอาระเบียในอดีตคูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งของอาณาจักรออตโตมันแต่ด้วยเหตุที่เป็นแหล่งน้ำมันอย่างมหาศาลทำให้ถูกตกอยู่ภายใต้การ ปกครองของสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ ค.ศ.1914 และได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ.1961
ในช่วงหลังสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำ อิรักจึงกล่าวหาว่าประเทศสมาชิกโอเปคผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมากเกินไป ทำให้เสียราคา อิรักยังกล่าวหาอีกว่า คูเวตไม่เพียงแต่จะผลิตน้ำมันออกสู่ ตลาดโลกมากยังดูดน้ำมันจากแหล่งของอิรักไปอีกด้วย อิรักจึงขอเจรจาเรื่องพรมแดนกับคูเวตซึ่งเคยมีกรณีพิพาทกันมาก่อน อิรักหวังว่าจะได้ดินแดนที่เป็นแหล่งน้ำมันเพิ่มขึ้นและอาจจะได้ดินแดนที่เป็นทางออกสู่อ่าวเปอร์เซียกว้างมากขึ้น แต่คูเวตได้ปฏิเสธคำขอนี้ ดังนั้นในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1990 อิรักได้เคลื่อนกองกำลังเข้ามาปิดล้อมคูเวตอย่างง่ายดาย
จุดเริ่มต้นของสงครามอยู่ที่การบุกรุกประเทศคูเวตของกองทัพอิรักในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 ซึ่งทำให้สหประชาชาติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับอิรักในทันที หลังจากการเจรจาด้านการทูตหลายครั้ง สหประชาชาติจึงมีมติให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อขับไล่กองทัพอิรักออกจากประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1991หลังจากปฏิบัติการทั้งทางอากาศและภาคพื้นดินช่วงเดือน
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ชัยชนะเป็นของกองกำลังผสม และวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1991 ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 อันเป็นวันที่อิรักบุกเข้ายึดคูเวตเป็นต้นมาคณะมนตรีความมั่นคงได้ประกาศให้ทุกชาติคว่ำบาตรรัฐบาลอิรัก และดำเนินการเคลื่อนไหวทางการฑูตเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม กำหนดให้วันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1991 เป็นเส้นตายที่อิรักจะปฏิบัติตามมติ ของคณะมนตรีความมั่นคงอิรักไม่ยอมทำตามมติดังกล่าว ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1991 กองกำลังนานาชาติจึงเริ่มโจมตีทางอากาศและตามติดด้วยการรบภาคพื้นดิน ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปฏิบัติการอันเป็นที่รู้จักกันในนาม "พายุทะเลทราย" (Desert Storm) ครั้งนี้มีกองทัพจาก
ประเทศต่างๆ28ประเทศเข้าร่วมรบโดยการอนุมัติของคณะมนตรีความมั่นคง และอยู่ภายใต้การบัญชาการของสหรัฐอเมริกาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ประธานาธิบดีจอร์จ บุช แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศหยุดยิงและประกาศความเป็นอิสรภาพของคูเวต อิรักถอนทหารออกจากคูเวตคณะผู้สังเกตการณ์ สหประชาชาติกรณีอิรัก-คูเวต เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่เมษายนค.ศ.1991มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่นานาชาติเข้าควบคุมบริเวณแนวเส้นหยุดยิงและตรวจสอบกำลังอาวุธที่อิรักมีไว้ในครอบครอง
คว่ำบาตร หมายถึง การยุติการติดต่อกันในมิติใดมิตินึง ส่วนใหญ่การคว่ำบาตรจะใช้ในทางการค้า มักจะใช้ในระดับการค้ากันระหว่างประเทศ โดยกลไกการคว่ำบาตรอาจจะมีทั้ง การไม่ยอมขายสินค้าหรือบริการให้ประเทศคู่ค้า หรือไม่ซื้อสินค้าหรือบริการจากประเทศคู่ค้า หรืออาจจะทั้งสองกรณีก็ได้ การคว่ำบาตรถือได้ว่าเป็นอาวุธทางเศรษฐกิจที่ร้ายกาจอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ต่อรองให้คู่กรณีจำยอมในข้อตกลงด้านอื่น ๆ เช่น ด้านการฑูต การเมือง วัฒนธรรม การทหาร หรือแม้แต่ด้านการค้า
ในปี ค.ศ. 2002 ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุชแห่งสหรัฐอเมริกา ดำเนินการที่จะกำจัดอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ นิวเคลียร์ของอิรัก โดยผ่านมติสภา มอบอำนาจให้
ประธานาธิบดี บุช สั่งโจมตีอิรักทันที่ที่จำเป็น โดยใช้วิธีการทางการฑูตก่อน หากไม่ได้ผลจึงใช้วิธีการทางทหาร สหรัฐกล่าวหาว่าประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซ็น ทุ่มเงินที่ได้จากการลักลอบขายน้ำมัน ซื้อชิ้นส่วน อาวุธ อันเป็นการละเมิดมาตรการ “ แซงก์ชั่น” การคว่ำบาตรของสหประชาชาติ
อิรักยิงเครื่องบินตรวจการณ์ของสหรัฐและอังกฤษ 750 ครั้ง เหนือน่านฟ้า “No-Fly Zone” เขตห้ามบิน สหรัฐอเมริกาอ้างว่ามีหลักฐานเชื่อได้ว่าอิรัก ผลิตแก๊สมัสตาร์ด และแก๊สทำลายประสาทสะสมไว้ กักตุนเชื้อโรคแอนแทร็กช์ และสารชีวภาพอันตรายอื่นๆในปริมาณมหาศาล โดยอิรักต้องยอมให้คณะตรวจสอบอาวุธของสหประชาชาติเข้าไปพิสูจน์ในทุกที่ที่ต้องการ ถ้าไม่ยอมทำตาม คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติจึงจะออกมติให้สหรัฐเข้าแทรกแซงทางทหารได้
ในที่สุดสหรัฐโจมตีอิรักโดยให้เหตุผลว่าเป็นการป้องกันตัว ผลการปลดปล่อยอิรักให้เป็นอิสระ(Operation Iraqi Freedom) ของพันธมิตรตะวันตกนำโดยสหรัฐอเมริกา (20 มีนาคม – 1 พ.ค. ค.ศ. 2003) มีการค้นหา จับกุมผู้นำอิรักคนสำคัญๆ และประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ในวันที่ 13 ธ.ค. ค.ศ. 2003 พร้อมทั้งคนใกล้ชิด 11คน
ในการปฏิบัติการรุ่งอรุณแดง(Operation Red Dawn) กลุ่มผู้ไม่พอใจการกระทำของสหรัฐได้แสดงออกรุ่นแรงตั้งแต่เดือน เม.ย. ค.ศ. 2004 จวบจนทุกวันนี้ ทำให้อิรักเป็นดินแดนที่อันตราย สหรัฐได้แบ่งเขตการใช้เส้นทางในอิรักโดยใช้สีกำกับ สีเขียวหมายถึงปลอดภัย สีเหลืองหมายถึงอันตรายและห้ามเดินทางในวัน เวลากลางคืน สีแดงหมายถึงห้ามการเคลื่อนกำลังทหารไปตามเส้นทางนั้น สีเขียวมีเฉพาะเขตทางตอนเหนือของประเทศเท่านั้นซึ่งมักเป็นเขตที่ชาวเคิร์ด อาศัยทางหลวงสายที่ 1จากกรุงแบกแดดขึ้นไปทางเหนือถือเป็นเส้นทางอัตรายเป็นสีแดงตลอดเวลา เพราะบริเวณตอนกลางประเทศรอบกรุงแบกแดดป็นเขตของผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าพวกชีอาห์ และเคิร์ด แต่ได้ปกครองประเทศมานาน จึงเป็นพวกที่มีปฏิกริยารุนแรงต่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้บริเวณใกล้กรุงแบกแดดที่เรียกว่า สามเหลี่ยมสุนนี่ เป็นเขตอันตรายต่อกำลังพันธมิตร
แม้ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนจะหมดอำนาจบริหารประเทศ แต่กลุ่มคนที่เคยเป็นศัตรู ก็ไม่พอใจที่สหรัฐยังคงกำลังของตนและพันธมิตร และดำเนินการในการจัดการปกครองอิรัก เขาเห็นว่าสหรัฐกำลังเปิดโอกาสให้ชาวอิรักที่ไปพำนัก ทำงานในต่างประเทศในขณะที่หนีภัยจากซัดดัม ฮุสเซน ได้กลับมาเป็นผู้บริหารประเทศแทน แลผู้ที่ถือนิกายซุนนีมองว่าตนกำลังจะสูญเสียสถานะภาพ พวกนิกานชีอาห์ บางกลุ่มไม่พอใจชาวตะวันตก เพราะต้องการจัดระเบียบอิรักเอง และต้องการสร้างรัฐอิสลาม จึงมีมุกตาดา อัล-ศอดร์ ก่อตั้งกองทัพมะฮ์ดี (Mahdi Army) ขึ้นต่อสู้กับสหรัฐ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2004 มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของชาวอิรักเพื่อจัดตั้งรัฐบาลทั่วไปเป็นครั้งแรกนเดือน มกราคม ค.ศ. 2005 หลังจากสมัย ซัดดัม ฮุสเซน
การก่อความรุนแรงที่ปรากฏมากคือการลักพาตัวชาวต่งชาติที่พำนัก ทำงานในอิรักเริ่มเมื่อเดือน เม.ย. ค.ศ. 2004 ทำเพื่อกดดันให้ชาตินั้นๆถอนกำลังออกจากอิรัก หรือเพื่อโต้ตอบที่สหรัฐปฏิบัติไม่ดีต่อนักโทษอิรักในเรือนจำอาบู กราบิ มีการลอบประทุษร้าย สังหารทหารพันธมิตร เจ้าหน้าที่ระดับสูง การก่อวินาศกรรมเป้าหมายทางทหารและสถานที่ผลิตอุตสาหกรรมน้ำมัน
การก่อความรุนแรงที่ปรากฏมากคือการลักพาตัวชาวต่งชาติที่พำนัก ทำงานในอิรักเริ่มเมื่อเดือน เม.ย. ค.ศ. 2004 ทำเพื่อกดดันให้ชาตินั้นๆถอนกำลังออกจากอิรัก หรือเพื่อโต้ตอบที่สหรัฐปฏิบัติไม่ดีต่อนักโทษอิรักในเรือนจำอาบู กราบิ มีการลอบประทุษร้าย สังหารทหารพันธมิตร เจ้าหน้าที่ระดับสูง การก่อวินาศกรรมเป้าหมายทางทหารและสถานที่ผลิตอุตสาหกรรมน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น: