Ads Top

สงครามโลกครั้งที่ 2


เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
1.ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย แล้วตั้งเป็นรัฐแมนจูกัว เพื่อเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งทำทุนใหม่สำหรับตลาดการค้าของญี่ปุ่น
2.การเพิ่มกำลังอาวุธของเยอรมัน และฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์
3.กรณีพิพาทระหว่างอิตาลีกับอังกฤษ ในกรณีที่อิตาลีบุกเอธิโอเปีย
4.เยอรมันผนวกออสเตรีย ทำให้เกิดสนธิสัญญา แกนเบอร์ลิน – โรม (เยอรมัน & อิตาลี) ต่อมาประเทศญี่ปุ่น เข้ามาทำสนธิสัญญาด้วย กลายเป็นสนธิสัญญา แกนเบอร์ลิน – โรม – โตเกียว เอ็กซิส
5.สงครามกลางเมืองในสเปน
6.เยอรมันเข้ายึดครองเชคโกสโลวเกีย
7.การแบ่งกลุ่มประเทศในยุโรป
ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2
เกิดจากเยอรมนีโจมตีโปแลนด์ และเรียกร้องขอดินแดนฉนวน ดานซิก คืนทำให้อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งสนับสนุนโปแลนด์ ประกาศสงครามกับเยอรมนีทันที ต่อมาเมื่อการรบขยายตัว ทำให้นานาประเทศที่เกี่ยวข้องถูกดึงเข้าร่วมสงครามเพิ่มขึ้น ( 1 กันยายน ค.ศ.1339)
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรของเยอรมนี เปิดฉากสงครามโดยโจมตีอ่าวเพิร์ล ฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในหมู่เกาะฮาวายเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามฝ่ายเดียวกับชาติพันธมิตรอย่างเป็น ทางการ
ประเทศคู่สงครามใน WW.II
แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
(1) กลุ่มประเทศฝ่ายพันธมิตร ชาติผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต รวมทั้งยังมีประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าร่วมสมทบด้วยอีกจำนวนมาก
(2) กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ ชาติผู้นำที่สำคัญได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี

“ค่ายเอาชวิตซ์” (Auschwitz)
ที่ใกล้เมืองเอาชวิตซิน โดยค่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อสังหารชาวยิวด้วย การรมแก๊สพิษและเผาในเตาเผา โดยมีเหยื่อที่โดนถึง 1,200,000 จากที่ต่างๆ ทั่วยุโรป จํานวน 22 ล้านคน ไปที่ค่าย โดยขนไปทางรถยนต์ รถไฟ และเรือเดินสมุทร และปัจจุบันสภาพยังเหมือนเดิมทุกประการไม่ว่าเตารมแก๊ส เตาเผา ค่ายพัก คุก มีกลิ่นแห่งความตายติดมาด้วย
ในวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos นำโดยเจ โรเบิร์ต นักฟิสิกส์ ใน “โครงการแมนฮัตทัน” ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต ,
ฮิโระชิมะ ,โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า
เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่ ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและสร้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด
ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ ฮิโระชิมะ ว่า “ฮิบะกุชะ” ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น” ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่น จึงมีนโยบายต่อต้านการใช้ระเบิดปรมณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์, ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 “ฮิบะกุชะ” มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็น เมืองฮิโระชิมะ 258,310 คน และเมืองนะงะซะกิ 145,984 คน
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
1.มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วย เหลือกัน และสนับสนุนสันติภาพของโลก รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ
2.ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)
3.ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้ง
ที่ 1
4.การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม
5.สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
6.ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา
7.เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต
ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
เหตุผลที่ไทยต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2
ไทยประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน
ผลของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2ของประเทศไทย
-ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
-เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
-ไทยได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
-ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.